Thursday, December 25, 2008

CCTV

Close circuit television ( CCTV) หรือระบบกล้องวงจรปิด เป็นการถ่ายทอดสัญญาณภาพ

ที่รับได้จากตัวกล้องมายังเครื่องรับที่เป็นโทรทัศน์ หรืออาจมีระบบบันทึกภาพด้วยก็ได้

โดยทั่วไปใช้ประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยหรือเฝ้าระวังเหตุการณ์ต่างๆ

สาเหตุที่เราต้องการติดมีด้วยกันหลายเหตุผล ดังเช่น(Why business used)

1. ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

2.ลดจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

3.ใช้ในการตรวจสอบและสังเกตการณ์การทำงานของเครื่องจักร

4.ลดความเสี่ยงหรือแรงจูงใจในการก่อเหตุร้าย

5.ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการทำงานผิดพลาดหรือการทุจริตของมนุษย์

6.เพื่อใช้เป็นข้อมูล หลักฐานในการหาตัวผู้กระทำความผิด


ธุรกิจประเภทใดควรใช้ (Type of Business Install/used)

Banking, Corporation, Casino, Education, Mall, Store, Transportation, ETC

จะเห็นได้ว่า แทบธุรกิจ หรือแม้แต่บ้านเราเองมีความต้องการระบบกล้องวงจรปิด


การองค์ประกอบและการทำงาน ของระบบกล้องวงจรปิด (Components)

1.กล้องวงจรปิด (Camera)
2.เลนส์ (Lens)
3.เครื่องบันทึกภาพ (DVR)
4.สายสัญญาณ (Cabling)
5.จอรับภาพ (Monitor)
6.แหล่งจ่ายไฟ (Power Adapter)
7.อุปกรณ์เสริมการทำงาน (accessory)

1.กล้องวงจรปิด (Camera)

โดยทั่วไปแล้วจะถูกแบ่งง่ายๆ ออกเป็นสองชนิดคือ กล้องสี และกล้องขาวดำซึ่งขึ้นอยู่กับ ความต้องการของผู้ใช้และสถานที่ในการ ติดตั้งซึ่งต้องประกอบไปด้วย ลักษณะ ของการใช้งานจริง ยกตัวอย่างเช่นกล้องสี ควรใช้งานกับสถานที่ที่มีแสงสม่ำเสมอ เช่น ซูปเปอร์มาเก็ต, มินิมาร์ท,ร้านทอง ฯลฯ เป็นต้น จากกลุ่มที่ยกตัวอย่างให้เห็นนั้นมีความ เหมาะสมกล่าวคือกล้องสีสามารถแยกแยะรายละเอียดหรือสีของสิ่งของ ได้ดี และในสถานที่ที่ยกตัวอย่างดังกล่าวก็มีการใช้แสงสว่างค่อนข้างมาก และสม่ำเสมอภาพที่มาปรากฎบนหน้าจอมอนิเตอร์ ก็จะมีความชัดเจนกล้องขาวดำ กล้องชนิดนี้เป็นกล้องที่ใช้แสงในการรับภาพต่ำมาก (LUX) เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้งานในด้านการรักษาความปลอดภัยเนื่องจาก สามารถดูในเวลากลางคืนได้ ดีกว่ากล้องสีเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ในอาคาร, คลังสินค้า, โรงงาน, กระบวนการผลิต, พื้นที่อันตราย, เคาเตอร์เก็บเงิน,ลานจอดรถ, ปั๊มน้ำมัน หรือสถานที่ที่ใช้อุปกรณ์ดูแลรักษาความปลอดภัยหมายเหตุ ปัจจุบันกล้องโทรทัศน์วงจรปิดจะใช้แผงรับภาพแบบ CCD (CHARGE COUPLE DEVICE) ซึ่งเป็นอุปกรณ์เซมิคอนดัคเตอร์ประเภทหนึ่ง ในกล้องราคาถูกจะไม่มีหน่วยประมวลผลภาพ และหน่วยความจำ ซึ่งเรียกว่าส่วนประมวลผลภาพดิจิตอล (DSP : Didital Image Signal Processing) ซึ่งจะทำให้กล้องที่ไม่มีหน่วยประมวลผล DSP อยู่จะซีดจาง และความคมชัดลดลง เมื่อใช้งาน ผ่านไปช่วงหนึ่ง

รูปแบบของกล้องวงจรปิด
1.กล้องทรงมาตรฐาน
เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการให้เห็นตัวกล้อง หรือต้องการติดภายนอกอาคาร หรือต้องการใช้เลนส์ Zoom และหากใช้ Out door จะต้องมีชุดหุ้มกล้องเพิ่ม
2. กล้องทรงโดม
เหมาะสำหรับพื้นที่ๆ ต้องการไม่ให้เห็นตัวกล้อง หรือรู้สึกว่าไม่ได้ติดกล้อง และดูกลมกลืนกับเพดาน หรือติดในลิฟท์ ห้องโถง หรือภายในอาคารทั่วๆไป
3 .กล้องอินฟาเรด
จะทำงานคล้ายกล้องวงจรปิดแบบปกติ เมื่อมีแสงสว่างเพียงพอ และจะเปิดแสงอินฟาเรดเพื่อช่วยให้มองเห็นได้ในที่มึดสนิดทันทีเมื่อแสงส่วางไม่เพียงพอ

กล้องจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันในแต่ละรุ่นโดยปกติจะมีสิ่งที่คำนึงดังต่อไปนี้

-การชดเชยภาพย้อนแสง (Black Light Compensation)

-ความละเอียดของภาพ (Resolution)
จะเป็นตัวชี้วัดถึงความคมชัดของกล้อง โดยปกติจะมีค่ามาตรฐานคือ StandardResolution 330TVL และ Hi-Resolution 480TVL ,540TVL ยิ่งมากยิ่งดี

-ความไวในการรับแสง (Sensitivity/low lux)
ความไวแสงหมายถึงค่าของแสงที่กล้องสามารถทำงานได้และสามารถมองเห็นภาพได้ ยิ่งค่าน้อยยิ่งถือว่ากล้องตัวนั้นสามารถมองเห็นในที่มีแสงน้อยๆได้ดี และกล้องบางรุ่นอาจทำงานได้ทั้งในแบบของสีและขาวดำ(กลงวัน/กลางคืน)ให้ภาพคมชัดขึ้นเมื่อมีแสงน้อย

-คุณภาพการรับแสง (Wide Dynamic Range)

-ชนิดและขนาดของแผ่นรับภาพ (CCD/Cmos)
ปกติจะมี 1/2",1/3" ,1/4" แบบ CCD และแบบ CMOS โดย 1/2" ภาพจะใหญ่กว่า 1/3" และ 1/4" และ CCD ปัจจุบันจะมีคุณภาพดีกว่า CMOS

-ฟังก์ชั่นการตั้งค่าอื่นๆของตัวกล้อง (OSD)


2.เลนส์ (Lens)
เลนส์จะมีหลายแบบเช่น Mono Focal Fixed iris จะไม่สามารถปรับมุมกว้าง-แคบ ของภาพและม่านแสงได้เหมาะสำหรับพื้นที่ๆไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงของแสง, แบบ Auto Iris จะใช้ในพื้นที่ๆแสงมีการเปลี่ยนแปลงตลอด เป็นต้นโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 4 ชนิดดังนี้

- เลนส์ แบบ NO IRIS เป็นเลนซ์ชนิดที่มีความสามารถในการใช้งานได้เพียงการปรับความ คมชัด
(FOCUS) ได้อย่างเดียว
- เลนส์ แบบ MANUAL IRIS เป็นเลนซ์ที่สามารถปรับได้ทั้งความคมชัดและปรับแต่งความมืด, สว่างของภาพได้ ตัวอย่าง เช่น ในสถานที่ที่ต้องการติดตั้งกล้องแต่ในสถานที่ดังกล่าวมีแสงค่อนข้าง มากแต่มีการเปลี่ยนแปลงความสว่างของแสง ไม่มากและต้องการความคมชัดทั้ง ภาพก็สามารถใช้ เลนซ์ชนิดนี้เป็นตัวช่วยได้
- เลนส์ แบบ AUTO IRIS เป็นเลนซ์ชนิดที่ปรับสามารถปรับได้ทั้งความคมชัดและในส่วนของ การปรับแสงเป็นการปรับ โดยอัตโนมัติโดยทำงานร่วมกับวงจรคอนโทรลภายในตัวกล้องซึ่งจะปรับ หน้าเลนซ์ไปตามสภาวะของแสงในสถานที่ที่ทำการติดตั้งกล้อง
- เลนส์ แบบ ZOOM เป็นเลนซ์ที่มีความสามารถดึงภาพในระยะไกลซึ่งเป็นการคอนโทรลการ ดึง
ภาพ,ความคมชัดได้ จากอุปกรณ์ควบคุมโดยการเดินสายจากตัวอุปกรณ์มายังตัวคอนโทรลซึ่ง ก็มีขนาดให้เลือกใช้ตามระยะที่ต้องการใช้จริงหมายเหตุ ปัจจุบันกล้องบางชนิดสามารถปรับการรับและแสดงผล ขาวดำ/สี ตามสภาพ ความเข้มแสงที่ได้รับในกรณีที่บริเวณ จุดติดตั้งมีสภาพแสงคงที่หรือเปลี่ยนแปลงน้อยสามารถ ใช้เลนซ์ แบบ No IRISหรือ Manual IRIS ควบคู่กับระบบ Electronic Shutter ก็จะให้ผลได้ดี ใกล้เคียงกับการใช้เลนซ์แบบ Auto IRIS


3.เครื่องบันทึกภาพ (DVR)
ทำหน้าที่ในส่วนของภาคบันทึก บันทึกภาพที่ได้จากกล้องแล้วส่งผ่านไปยังจอรับภาพ สามารถดูเหตุการณ์ย้อนหลังได้หากมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น ปัจจุบันนิยมใช้เครื่องบันทึกสัญญาณภาพระบบดิจิตอล (Digital Video Recorder) เนื่องจากสะดวกและประหยัดมีคุณภาพในการบันทึกดีกว่าระบบเทป โดยปกติจะมีแบบ 4 , 8,16 , 24 ช่อง ทั้งแบบ PC และ Non-PC แบบ PC การใช้งานผู้ใช้จะต้องมีความรู้เรื่องคอมพิเตอร์ค่อนข้างเยอะเพราะจะมีการใช้งานคล้ายๆกับคอมพิวเตอร์ หากผู้ใช้ไม่มีพื้นฐานคอมพิวเตอร์ก็จะมีปัญหาเยอะ ส่วนแบบ Non-PCจะเป็นเครื่องที่ถูกอกแบบมาให้ผู้ใช้งานได้ง่ายกว่าโดยหน้าตาและปุ่มกดคำสั่งต่างๆจะคล้ายๆกับเครื่องเล่นVideo , VCD ,DVD ซึ่ง ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้งานได้ง่ายๆ และปัญหาจะมีน้อยกว่าแบบ PC มาก

ระบบ Digital แบ่งเป็นดังนี้
- ระบบ DVR(Digital Video Recorder) เป็นการบันทึกข้อมูลลงใน Hard Disk Drive ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการบันทึกลงในเครื่อง Computer ทั่วๆไปซึ่ง DVR มีคุณภาพที่ดีกว่าการ บันทึกลงใน Tape เพราะสามารถบันทึกได้ยาวนานกว่าตามแต่ขนาดของ Hard Disk และ การ Set Resolution ในการบันทึกนอกจากนี้เวลานำภาพกลับมาดูภายหลังผู้ใช้สามารถกำหนด วัน, เวลา ในการเรียกดูได้อย่างรวดเร็วและสามารถตรวจดูอุปกรณ์ตรวจจับการบุกรุกในขณะที่ไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุได้ด้วยนอกจากนี้คุณสมบัติอีกข้อหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของระบบนี้คือ สามารถติดต่อกับระบบ เครือข่ายเช่น LAN,WAN,PSTN,ADSL ฯลฯ และทำ Motion Detection ได้โดยที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ ประเภทเครื่องประมวลผลภาพเข้ามา ช่วยในการทำงานอุปกรณ์นี้จะช่วย ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วน ของการบำรุงรักษาในภายหลังเพราะไม่ต้องซื้อม้วนVDO และ อายุการใช้งานของ Hard Disk ก็ยาวนานกว่าม้วน VDO มาก PC – BASE เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพที่ต้องใช้ Computer เข้ามาช่วยในการทำงานแล้วสามารถติดต่อเข้ากับ ระบบเครือข่ายเช่นLAN,WAL,PSTN,ADSL เป็นต้น ทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลออกไปสามารถทำการ Remote เข้าสู่ระบบได้โดยที่เมื่อทำการบันทึกภาพข้อมูลที่บันทึกก็จะบันทึกลงใน Hard Disk ของ Computer ระบบ PC-BASEนี้จะมีเสถียรภาพในการใช้งานด้อยกว่าแบบ Stand Alone เพราะระบบ PC-BASE นี้ต้องอาศัยวามสามารถของ Computer ทั้ง Hard Ware และ Soft Ware ที่จำเป็นจะต้อง Support กับตัวอุปกรณ์และมี Specของ Computer ที่สูงพอสมควร และที่สำคัญข้อมูลที่ได้จาก Computer ผู้ใช้สามารถนำไปตกแต่งได้ด้วยทำให้ข้อมูลอาจผิดไป จากข้อมูลจริง เช่น ภาพที่ได้อาจจะเป็นคนละภาพกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นก็ได้ทำให้ระบบนี้ ไม่เหมาะกับงานด้านระบบรักษาความปลอดภัย

- Stand Aloneเป็นอุปกรณ์บันทึกภาพที่ทำการบันทึกลงใน Hard Disk เช่นเดียวกับระบบ PC-BASE สามารถทำงานได้โดยลำพังหรือติดต่อเข้ากับระบบเครือข่ายก็ได้ทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลออก ไปสามารถ Remote เข้าสู่ระบบได้ระบบที่เป็นแบบ Stand Alone นี้จะมีเสถียรภาพมากกว่า แบบPC-BASE เพราะไม่ต้องพึ่ง Hard Wareและ Soft Ware จาก Computer ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการแบบเอนกประสงค์ซึ่งต่างจากระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะซึ่ง มีขนาดเล็ก มีความเร็วในการเรียกใช้งาน ที่สูงเพราะเก็บไว้ในหน่วยความจำชนิดพิเศษซึ่งจะ ไม่เกิดความเสียหายจากภายนอก เช่น ไฟฟ้ากระชาก ไฟฟ้าดับ หรือ ไวรัส อีกทั้งโดยส่วนใหญ่แล้ว DVR มักจะมีฟังก์ชั่นการตรวจจับความเคลื่อนไหวรวมอยู่ด้วย ระบบ Stand Aloneมักจะใช้ Hard Ware ในการทำงานฟังก์ชั่นนี้ทำให้การตรวจจับมีความมั่นคงแน่นอนและรวดเร็วกว่าข้อมูลที่ได้ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เหมือนระบบ PC-BASE ที่บางทีข้อมูลภาพที่ได้อาจ ถูกตกแต่งขึ้นมาก็ได้ดังนั้นการทำงานของระบบนี้จึงเหมาะกับงาน ด้านระบบรักษาความปลอดภัยมากกว่า

ข้อควรพิจารณา /คุณสมบัติ

-การรองรับจำนวนกล้อง 4,8,16,24,32
-รองรับความละเอียดของภาพ แสดงในรูป Pixel X Pixel ยิ่งมากยิ่งดี
-มีการสำรองข้อมูลได้ง่ายและหลายรูปแบบ
-สามารถปิดบังภาพบางจุดจากกล้องแต่ละตัวได้
-ความสามารถในการบันทึกภาพ ( fps) ค่ายิ่งมากยิ่งดี
-รองรับการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ได้สูงสุดกี่ตัว/ฟังก์ชั่นการตรวจสอบ ฮาร์ดดิกส์
-ความสามารถในการแสดงภาพ Real Time Display( fps) ค่ายิ่งมากยิ่งดี ปกติ 25fps ต่อกล้อง เช่นมี 4กล้องเครื่องจะต้องได้ 100fps ถึงจะดี
-ลูกเล่นคุณสมบัติอื่นๆ เช่น ต่อ Network , มีระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว(Motion Detection) ,
บันทึกเสียง , ส่งเมล์เตือน ฯลฯ
-รองรับมาตรฐานการบีบอัดข้อมูลแบบH.264,Wavelet, M-jpeg ,Mpeg-2,Mpeg4 ฯลฯ แสดงถึงขนาดของไฟล์ที่อัดยิ่งเล็กยิ่งบันทึกได้นาน แต่ทั้งนี้อาจทำให้คุณภาพของภาพลดลงได้ด้วย ดังนั้นข้อนี้ถือว่าผู้ใช้ต้องเลือกเอาความคมชัดหรือระยะเวลาของการบันทึก
-รองรับการทำงานพร้อมกันได้หลายฟังก์ชั่น เช่น ความสามารถในการทำงาน แบบ Simplex จะทำงานได้อย่างใดอย่างหนึ่งเช่นขณะที่บันทึกจะเล่นกลับภาพที่บันทึกขณะนั้นไม่ได้จะต้องหยุดบันทึกก่อน ส่วน แบบ Duplex และแบบ Triplex จะสามารถเล่นภาพกลับจากที่บันทึกไว้ได้ในขณะที่กำลังบันทึกอยู่


หมายเหตุ ปัจจุบันมีการพัฒนาการบันทึกผลลงในอุปกรณ์บันทึกผลข้อมูล ที่เรียกว่าฮาร์ทดิส (H.D) ซึ่งจะทำให้สะดวกในการเก็บภาพ โดยไม่ใช้เทปเหมือนแต่ก่อน อีกทั้งยังสามารถเพิ่ม เติมความจุ หรืออาจจะให้ฮาร์ทดิส แบบถอดได้ (REMOVABLE HARD DISK) ทำให้ สะดวกในการเก็บภาพ โดยข้อดีของการเก็บภาพแบบดิจิตอล มีหลายประการ
1. ไม่มีความจำเป็นต้องถอดเปลี่ยนเทปเหมือนเดิม
2. สามารถค้นหาข้อมูลภาพได้รวดเร็วกว่ามาก
3. สามารถทำการโอนถ่ายข้อมูลภาพ ผ่านระบบเครือข่าย และนำมาแสดงผลโดยเครื่องพิมพ์ได้ทันที

4.สายสัญญาณ (Cabling)
ปกติระบบ CCTV จะต้องใช้สื่อสายสัญญาณเท่านั้น เนื่องจากมี
ความปลอดภัยสูง ระบบกล้องวงจปิดไร้สาย ที่ใช้คลื่นวิทยุ นั้นจะมีโอกาสถูกลักลอบดูดภาพ ได้ง่าย เนื่องจากคลื่นแพร่กระจายไปทั่ว และมีสัญญาณรบกวนสูง สายที่ใช้จะนิยมใช้ สาย RG59,RG6,RG11,UTP,Fiber Optic ฯลฯ


5.จอรับภาพ (Monitor)
ทำหน้าที่รับสัญญาณเพียงอย่างเดียว ซึ่งตัวแปรต่างๆ ของระบบจะขึ้นอยู่กับการเลือก ใช้อุปกรณ์ต่อเชื่อมสัญญาณ ว่าจะใช้อุปกรณ์ใด จอภาพมอนิเตอร์ก็จะปรากฏภาพดังนั้น ซึ่งโดยทั่วไปก็จะแบ่งออกเป็น 2แบบคือ จอภาพสี และ จอภาพขาวดำโดยมีขนาดให้เลือกหลาย ขนาดตามจุดประสงค์และความต้องการ
-CCTV Monitor สำหรับการใช้งานที่ต้องการความละเอียดสูงอายุการใช้งานยาวนาน เปิดตลอด 24
ชั่วโมง
-Computer Monitor
-TV ประหยัด สารพัดประโยชน์ แต่ไม่เหมาะสำหรับเปิดตลอด 24 ชั่วโมง อายุการใช้งานสั้น

6.แหล่งจ่ายไฟ (Power Adapter)
ส่วนของแหล่งจ่ายไฟจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์นั้นๅ โดยปกติจะใช้ 12Vdc,24Vac และ 220Vac

การจ่ายไฟฟ้าให้กับเลนส์ฯ มี ๒ แบบคือ
แบบสัญญาณภาพ (Video Type) ตัวกล้องจะจ่ายไฟฟ้าให้กับเลนส์ในลักษณะของสัญญาณ
ภาพ โดยจะมีความเข้มของสัญญาณภาพที่แตกต่างกันไป ตามการเปลี่ยนแปลงของแสง เลนส์ที่จะใช้กับกล้องที่จ่ายไฟฟ้าแบบนี้ จะต้องมีแผงวงจร (Amplifier) เพื่อเปลี่ยนความแตกต่างของสัญญาณภาพให้เป็น การเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้า เพื่อให้อุปกรณ์ซึ่งคล้ายกับมอเตอร์ มีขนาดเล็กมาก เรียกว่า กัลวานอมิเตอร์ (Galvanometer) หรือเรียกเป็นอย่างอื่นแล้วแต่ผู้ผลิตจะเรียก ทำงาน เพื่อทำให้ม่านแสงเปิด หรือปิด ตามการเปลี่ยนแปลงของแสงแบบไฟตรง (DC Type) ตัวกล้องจะมีวงจรจ่ายไฟฟ้า จ่ายไฟกระแสตรง(DC) ให้กับเลนส์ เพื่อให้กัลวานอมิเตอร์ (Galvanometer) ทำงานโดยตรง เพื่อทำให้ม่านแสงเปิด หรือปิด ไปตามการเปลี่ยนแปลงของแสง
แบบไฟตรง (DC Type) ตัวกล้องจะมีวงจรจ่ายไฟฟ้า จ่ายไฟกระแสตรง (DC) ให้กับเลนส์
เพื่อให้กัลวานอมิเตอร์ (Galvanometer) ทำงานโดยตรง เพื่อทำให้ม่านแสงเปิด หรือ ปิด ไปตามการเปลี่ยนแปลงของแสง การเลือกใช้เลนส์ที่เปิด-ปิด ม่านแสงอัตโนมัติ ว่าเป็นชนิด Video Type หรือ DCType ต้องดูจากคู่มือของกล้อง ถ้าใช้ผิดประเภท เลนส์จะไม่ทำงาน และอาจจะชำรุดได้.
นอกจากนี้ เลนส์บางรุ่น บางผู้ผลิต สามารถที่จะใช้งานได้ทั้ง Maunal-Irsi และ Auto-Iris ในเลนส์
ตัวเดียวกัน บางรุ่นจะมีสวิทส์เลือกใช้ อย่างใดอย่างหนึ่งจากตัวควบคุม แต่ในบางรุ่นสามารถที่จะสั่งเปิดหรือปิด รูรับแสง ในขณะที่ยังคงทำงานเป็น Auto-Iris ได้ด้วย

7.อุปกรณ์เสริมการทำงาน (accessory)

1.ขายึดกล้อง (BRACKET)
อุปกรณ์ชนิดนี้เป็นอุปกรณ์ที่จะต้องเลือกจัดหลังสุดหลังจากเมื่อจัดแล้วว่าใช้กล้อง , เลนซ์ , ชุดหุ้มกล้อง ,อุปกรณ์ส่ายหมุน ชนิดใดขนาดเท่าใดมีน้ำหนักเท่าไหร่เพราะในการจัด อุปกรณ์ชนิดนี้จะต้องให้เหมาะสมกับน้ำหนักที่จะต้องรับจากตัวอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งก็มีขนาดของ การรับน้ำหนักและคุณลักษณะในการติดตั้งหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ติดผนัง(WALL MOUNT) ติดเพดาน (CEILING MOUNT)


2.ชุดหุ้มกล้อง (HOUSING)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันตัวกล้องและตัวเลนซ์ให้พ้นจากแสงแดดและน้ำแม้กระทั้งไอหมอก ซึ่งจะส่งผลในการยืดอายุการใช้งานของตัวกล้องและเลนซ์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ใช้ (กล้อง,เลนซ์) และสถานที่ ที่ใช้เพราะมีอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้ทั้งภายใน (INDOOR) และภายนอก (OUT DOOR) และมี ACCESSORIE ให้เลือกใช้มากมายไม่ว่าจะเป็นใบปัดหน้า, ชุดครอบ, อุปกรณ์หล่อเย็น ในกรณีทีทำการติดตั้งในที่ที่มีอุณหภูมิสูง หรือจะเป็นชุดอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันแรงกระแทกได้ ซึ่งเหมาะสมกับสถานที่ที่มีการกระแทกสูงๆ เช่น เหมืองแร่ต่างๆ

3.หัวก้มและส่าย (PAN/TILT)
เป็นอุปกรณ์เสริม ซึ่งมีหน้าที่ของตัวอุปกรณ์คือเป็นตัว ส่าย หมุน ก้มเงย ซึ่งนิยมนำไป ใช้ร่วมกับการใช้เลนซ์ ZOOM ก็จะได้ประสิทธิภาพสูงสุด มีให้เลือกใช้ทั้ง ภายใน (IN DOOR) ภายนอก (OUT DOOR) ซึ่งจะต้องใช้ควบคู่กับชุดควบคุมหรือชุดคอนโทรลเสมอโดยการเดินสาย จากตัวอุปกรณ์มายังชุดควบคุม

4.หัวส่าย (SCANNER)
เป็นอุปกรณ์เสริมมีหน้าที่ของตัวอุปกรณ์คือ เป็นตัว ส่าย ซ้าย ขวา อุปกรณ์ชนิดนี้ไม่ค่อยนิยม ใช้มากนักเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้ภายนอก (OUT DOOR) และอุปกรณ์ที่มีใช้ภายใน(IN DOOR) โดยส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถ รับน้ำหนักได้มากนัก ยกเว้นอุปกรณ์ที่มาจากทางอเมริกา ซึ่งก็มีราคาแพงจึง ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร

5.เครื่องสลับภาพ (SWITCHER)
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับสัญญาณจากตัวกล้อง แล้วส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์รับภาพ โดยจะทำหน้าที่สลับภาพให้ภาพจากตัวกล้องมาปรากฎบนหน้าจอทีละภาพตามลำดับเวลาที่ สามารถกำหนดได้โดยทั่วไปตั้งแต่ 1-35 วินาทีและมีขนาดให้เลือก ใช้หลายขนาดคือ จะมี 4,6,8,12,16 ช่องรับสัญญาณซึ่งสามารถเลือกใช้ตามจำนวนของกล้อง ที่จะใช้จริง

6.เครื่องแบ่งสัญญาณภาพควอร์ต (QUAD)
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเหมือนกับเครื่องสลับภาพแต่จะทำหน้าที่ต่างกันในขาออกคือภาพที่ ได้จะปรากฎอยู่บนจอพร้อมกัน 4 ภาพ (หมายถึง QUAD 4CH) ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า QUAD จะทำหน้าที่แบ่งสัญญาณบนหน้าจอภาพ ซึ่งข้อดีของอุปกรณ์ตัวนี้คือจะไม่เกิดช่องว่างของเวลา ในการสลับภาพเหมือน เครื่องสลับภาพ และในขณะเดียวกันถ้ามีการต่อพ่วงเข้ากับเครื่องบันทึกภาพก็จะได้ภาพทั้งหมดพร้อมกันในการบันทึกภาพ ซึ่งก็จะมี 2 ขนาดในการใช้คือ QUAD 4 CH, QUAD 8 CH (DUAL PAGE) ซึ่งจะแสดงความแตกต่างในการใช้งาน DIAGRAM แนบท้าย

7.เครื่องแบ่งสัญญาณภาพมัลติเพลกเซอร์ (MULTIPLEXER)
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับสัญญาณเหมือนกับ เครื่องสลับภาพ และ เครื่องแบ่งสัญญาณ ภาพควอร์ตแต่มีประสิทธิภาพมากกว่าคือสามารถแบ่งสัญญาณภาพบนจอได้ ถึง 9 ส่วน หรือ 16 ส่วน นั้นหมายถึงรับสัญญาณจากกล้องได้ถึง 9 ตัว หรือ 16 ตัว นั้นเอง โดยหน้าที่พิเศษของตัว เครื่องแบ่งสัญญาณภาพมัลติเพลกเซอร์ นี้ก็คือในกรณีที่ทำการบันทึกภาพลงบนเนื้อเทป (ม้วน VDO) แล้วนั้นซึ่งในการบันทึกก็จะบันทึกภาพทั้ง 16 กล้องลงไปพร้อมๆ กัน ซึ่งโดยปกติจากการบันทึกเทป เมื่อบันทึกลงเป็น 16 ส่วน ก็จะได้ภาพเป็น 16 ส่วนในกรณีที่มีการ PLAY BACK แต่ประสิทธิภาพของ MULTIPLEXER สามารถที่จะดึงภาพใดภาพหนึ่งใน 16 ภาพขึ้นมาเป็นภาพใหญ่เต็มจอ (FULL SCREEN) ได้จากเนื้อเทปที่ทำการบันทึกไว้แล้ว ความสามารถพิเศษของอุปกรณ์ตัวนี้อีกอย่าง คือในเวลาที่มีการเข้าระบบบันทึกภาพและมีการคอนโทรลที่หน้าจอภาพโดยควบคุมให้ภาพในขณะนั้นเป็นภาพจากกล้องใดกล้องหนึ่งแต่ในการบันทึกภาพก็จะได้ภาพทั้ง 16 กล้อง เช่นเดิม ซึ่งประโยชน์ก็คือก็จะได้ภาพทั้ง 16 กล้องโดยไม่ขาดตอนในการบันทึก แม้หน้าจอภาพจะถูกควบคุมไปแบบใดก็ตาม

8.โปรแกรมกล้อง
9.ระบบ INTERNET (กรณีต้องการดูกล้อง ผ่านระบบ INTERNET)
10.ระบบการควบคุม (Control System)

No comments: